โดเมน (Domain name) คือชื่อเว็บไซต์หลัง www. เช่น www.dmit.co.th (dmit.co.th คือชื่อโดเมน) ซึ่งจริง ๆ แล้ว จุดประสงค์ของการมีโดเมนคือ การมีหน้าเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนหน้าบ้านและการมีอีเมลบริษัทที่เปรียบเสมือนหลังบ้านของตัวเอง อาทิ Myname@dmit.co.th ตรงคำว่า @dmit.co.th นั่นก็คือโดเมนเนมของบริษัทอีกเช่นกัน ซึ่งพนักงานทุกคนจะมีนามสกุลนี้ติดตัวอยู่เสมอและสามารถใช้อีเมลนี้ในการติดต่อสื่อสารกับคนในบริษัทและนอกบริษัทได้ 

1. ชื่อโดเมนน่าจดจำ

            การตั้งชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อที่น่าจดจำบ่บอกถึงธุรกิจหรือบริษัท เพราะลุกค้าโดยส่วนใหญ่จะไม่จดจำเว็บไซต์ที่มีชื่อยากหรือยาวมากเกินไป เพราะมันอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสนได้ ซึ่งชื่อ 1 ชื่อสามารถจดโดเมนได้ 1 ครั้งเท่านั้น ถ้าหากว่าบริษัทต้องการเปลี่ยนชื่อต้องเสียเงินเพื่อจดใหม่

2. ความยาวของชื่ออาจสำคัญ

         ทั้งนี้ไม่ใช่ความยาวของชื่อจะมีข้อเสียเสมอไป เพราะความยาวของชื่ออาจเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าสามารถจดจำธุรกิจได้ โดยความยาวของชื่อโดเมนสามารถมีความยาวได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร ซึ่งการตั้งชื่ออาจใช้คำหลักของธุรกิจ หรือชื่อหลักของบริษัทได้ การใช้คำย่อก็อาจส่งผลให้ลูกค้าสับสนได้เช่นกัน

3. เลือกผู้จดโดเมน

         ให้เลือกผู้จดโดเมนที่ได้รับการรับรองและน่าเชื่อถือ เนื่องจากผู้ให้บริการจดโดเมนจะสามารถไปแก้ไขโดเมนของคุณได้ และเป็นคนต่ออายุโดเมนให้กับคุณด้วย ดงนั้นควรรักษา Username และ Password ไว้เป็นความลับ

4. โปรดใช้ความระมัดระวังในการเลือกใช้ส่วนท้ายของโดเมน

         ส่วนท้ายของโดเมนหรือโดเมนระดับบนสุด (TLD) ส่วนใหญ่จะใช้ .com, .net และ .org ซึ่งส่วนท้ายนี้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่นสำหรับองค์กร หรือบริษัทธุรกิจ ควรเริ่มด้วย .com หรือถ้าเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรก็ใช้ .org เป็นต้น

5. ต้องการพื้นที่ Web Hosting  มาแค่ไหน

         ธุรกิจสามารถซื้อพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลและอีเมลต่าง ๆ ได้ เมื่อธุรกิจต้องการพื้นที่เพิ่มสามารถซื้อพื้นที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนที่อยู่ แต่ถ้าหากธุรกิจต้องการเผยแพร่เนื้อหาออนไลน์จำนวนมากในแต่ละวัน ธุรกิจนั้นอาจต้องใช้พื้นที่มากขึ้น

ที่มา : http://alltopstartups.com/2014/10/15/registering-a-domain/